Last updated: 20 Jan 2023 |
เมื่ออายุเริ่มย่างเข้าสู่เลข 3 ปัญหาผิวยอดฮิตอันดับต้น ๆ ที่พบได้บ่อย คงหนีไม่พ้น “ฝ้ากระ” กวนใจ ที่ทำเอาสาว ๆ หลายคนเสียความมั่นใจกันไปไม่น้อย ซึ่งเพื่อน ๆ รู้ไหมว่า “ฝ้า” มีหลายชนิด แต่ละแบบก็มีสาเหตุ ลักษณะ และวิธีรักษาที่แตกต่างกันออกไป
รูปฝ้า
เพื่อให้เราสามารถรักษาฝ้าได้ถูกวิธี! วันนี้ Merci ได้รวบรวมชนิดของฝ้าที่พบได้บ่อยในปัจจุบันมาให้แล้ว ไปทำความรู้จักกันเลย!
1. ฝ้าแดด
เริ่มกันที่ฝ้าชนิดแรกอย่าง “ฝ้าแดด” ถือเป็นฝ้าที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะแดดบ้านเรามันช่างร้อนแรงเอามาก ๆ จึงทำให้คนไทยเป็นฝ้าแดดกันเยอะมาก
โดยฝ้าชนิดนี้ เกิดจากรังสี UVA และ UVB จากแสงแดด เป็นรังสีที่มีความเข้มข้นสูง สามารถทะลุทะลวงและทำลายชั้นผิวได้ลึก จึงกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีอย่าง “เมลาโนไซท์” ผลิตเม็ดสีเมลานินออกมามากขึ้น เกิดเป็น “ฝ้าแดด” ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยสีน้ำตาลคล้ำ ดำ แดง หรือเทาอมม่วง
ไม่ใช่แค่เพียงแสงแดดเท่านั้น ที่กระตุ้นให้เกิดฝ้าแดดได้ แต่สิ่งใกล้ตัวที่เราอาจคาดไม่ถึงอย่างแสงจากหลอดไฟ แสงจากคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ล้วนกระตุ้นให้เกิดฝ้าแดดได้เช่นก้น ซึ่งหากปล่อยปละละเลย ไม่รีบดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะเกิดการสะสมจนทำให้ฝ้าเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะในชีวิตประจำวัน เราต่างได้รับแสงแดดและแสงต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นประจำอยู่แล้ว
2. ฝ้าฮอร์โมน
“ฝ้าฮอร์โมน” พบมากในคุณแม่ตั้งครรภ์ และผู้ที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด โดยในช่วงนั้นร่างกายจะเกิดภาวะฮอร์โมนแปรปรวน โดยมีปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงอย่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) สูงกว่าปกติ จึงกระตุ้นให้มีการผลิตเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น จึงเกิดฝ้าได้ง่าย หรือในบางรายอาจสังเกตเห็นว่าฝ้าที่เป็นอยู่มีสีเข้มขึ้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น ฝ้าฮอร์โมนจะค่อย ๆ จางลงและหายเองได้ เมื่อผ่านพ้นช่วงตั้งครรภ์หรือหยุดยา จะช่วยให้ฝ้าที่เป็นอยู่ค่อย ๆ ดีขึ้นได้
ฝ้าแดด และฝ้าฮอร์โมน หากเกิดที่บริเวณผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) จะจัดเป็น “ฝ้าตื้น” แต่หากเกิดที่ผิวชั้นหนังแท้ (Dermis) จะจัดเป็น“ฝ้าลึก”
ฝ้าตื้น : มีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาล ขอบชัด
ฝ้าลึก : มีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาลเทา ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน แทบจะกลืนกับผิวหน้าเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งรักษาได้ยาก
รูปฝ้าตื้น ฝ้าลึก
3. ฝ้าเลือด
“ฝ้าเลือด” (Vascular melasma) หลายคนมักไม่คุ้นหูกับฝ้าชนิดนี้ แต่รู้หรือไม่ว่า? คนไทยเป็น “ฝ้าเลือดกันเยอะมาก” โดยฝ้าเลือดเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยในชั้นหนังแท้ โดยมีการเพิ่ม ขยายตัวหรือเสื่อมสภาพจนไม่สามารถกักเก็บเลือดได้ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตก เกิดเลือดกระจุกใต้ชั้นผิวหนัง เกิดเป็น “ฝ้าเลือด” ซึ่งมีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาลแดง เห็นเป็นรอยแดง ๆ คล้ายเส้นเลือด
สำหรับสาเหตุการเกิด “ฝ้าเลือด” พบว่ามีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน อาทิเช่น
ผิวได้รับรังสี UV จากแสงแดดเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณนั้นเสื่อมสภาพ
ครีมเร่งผิวขาวที่มีสารอันตราย เช่น ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) หากใช้เป็นเวลานานจะทำให้ผิวบาง และกระตุ้นให้เกิดฝ้าเลือด
ครีมบำรุงผิวที่มีสารอันตราย เช่น ปรอท สเตียรอยด์ หากใช้เป็นเวลานาน จะกระตุ้นให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวมากขึ้นจนเกิดเป็นฝ้าเลือด
"ฝ้า" รักษาอย่างไรดี?
วิธีรักษาฝ้าที่ถูกต้อง ต้องเริ่มหาสาเหตุการเกิดฝ้าของตัวเอง จึงจะรักษาได้อย่างตรงจุด เช่น
หากเป็นฝ้าแดด : ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจัด และทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ
หากเป็นฝ้าจากการทานยาคุมกำเนิด : แนะนำให้หยุดยา แล้วปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีคุมกำเนิดโดยใช้วิธีอื่น
หากเป็นฝ้าเลือด : ควรหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่มีสารอันตรายอย่างปรอทและสเตียรอยด์ พร้อมรีบพบแพทย์โดยทันที
นอกจากนี้ ควรเสริมด้วยการบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการทาครีมหรือเซรั่มที่มีสรรพคุณช่วยลดเลือนรอยฝ้า โดยแนะนำให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น
วิตามินซี ช่วยบำรุงผิวให้ขาวกระจ่างใส โดยยั้บยังการผลิตเอนไซม์ Tyrosinase (เอนไซม์ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน สาเหตุของฝ้า)
PHA ช่วยผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยนและมีประสิทธิภาพ
แพลงก์ตอน ช่วยให้รอยฝ้า กระ จุดด่างดำแลดูจางลง
วิตามินบี 3 ช่วยเติมความชุ่มชื้นให้ผิวอิ่มน้ำ
ขอแนะนำ “เมอร์ซี่ วิตซี เซรั่ม” ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ผ่านกระบวนการเทคโนโลยีขั้นสูง จัดการ ฝ้า กระ จุดด่างดำได้อย่างตรงจุด พร้อมลดความหมองคล้ำให้ผิวแลดูกระจ่างใส ด้วยอนุพันธ์ Vitamin C ที่มีความคงตัวสูงอย่าง “3-O-ethyl ascorbic acid” ผสาน Whitening complex ที่มีสารสกัดถึง 7 ชนิด ปกป้องและยับยั้งการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน ต้นเหตุของฝ้า
ได้เวลาบอกลาฝ้า กระ จุดด่างดำ อย่างปลอดภัย สนใจสั่งซื้อสินค้า คลิกที่นี่!
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก…
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bioderma
dermnet all about the skin
5 Nov 2024
3 May 2024
11 Sep 2024